ไทลื้อ

ประวัติความเป็นมา
ไทลื้อคือชนเผ่ากลุ่มหนึ่งที่อพยพมาจากแคว้นสิบสองปันนา (จีน) มาตั้งรากฐานอยู่ที่ทางตอนเหนือของประเทศไทย โดยอยู่ในจังหวัดเชียงราย (อ.พาน , อ. เชียงแสน) จังหวัดลำปาง (ต.กล้วยแพะ ) สำหรับจังหวัดลำปาง ในสมัยก่อนนั้น ชาวไทยลื้อส่วนใหญ่รวมตัวกันอยู่ที่ หมู่บ้านกล้วยหลวง จากนั้นประชากรเริ่มเพิ่มมากขึ้นจึงได้แตกแยกออกเป็น 5 หมู่บ้าน คือ

  1. บ้านกล้วยหลวง
  2. บ้านกล้วยฝาย
  3. บ้านกล้วยม่วง
  4. บ้านกล้วยแพะ
  5. บ้านกล้วยกลาง

กำเนิดของศูนย์วัฒนธรรมไทลื้อ ต.กล้วยแพะ อ.เมือง จ.ลำปาง เริ่มก่อตั้งขึ้นตั้งแต่ ปี 2528 เป็นต้นมา โดยเริ่มจากอาจารย์ ประเสริฐ อุดอิน และกลุ่มเพื่อนได้คิดตั้งชมรมจากผู้ใหญ่บ้าน กำนัน โดยเริ่มจากกำนันบุญศรี หอมแก่นจันทร์ ต่อมาได้เปลี่ยนมาเป็นศูนย์วัฒนธรรมไทลื้อ ซึ่งทางจังหวัดได้เข้ามาดูแลเพราะวัฒนธรรมไทลื้อเป็นวัฒนธรรมที่มีคุณค่า สมควรเผยแพร่ให้คนในประเทศรู้จัก ปัจจุบันสมาชิกศูนย์วัฒนธรรมไทลื้อ ต.กล้วยแพะก็ได้เข้าเป็นสมาชิกสมาคมไทลื้อแห่งประเทศไทย ซึ่งมีคุณลัดดาวัลย์ วงศ์ศรีวงศ์ เป็นนายกสมาคมอยู่ สำหรับสมาคมไทลื้อแห่งประเทศไทยก็จัดงานขึ้นทุกปี ในปัจจุบันศูนย์วัฒนธรรมไทลื้อ ต.กล้วยแพะก็ได้มีการประชาสัมพันธ์เผยแพร่ข่าวสารของศูนย์ฯ ไปทางหนังสือพิมพ์และวิทยุกระจายเสียงอย่างสม่ำเสมอ

กิจกรรม
กิจกรรมที่เป็นหลักคืองานประเพณีประจำปี ได้แก่ งานล่องสะเปาของชาวไทลื้อ ในงานก็จะมีการแสดงศิลปะวัฒนธรรมต่าง ๆ ที่จัดขึ้นทุกปี อย่างเช่น การประกวดธิดาไทลื้อ การประกวดสะเปาของชาวไทลื้อ หลังจากนั้นก็จะมีเกี่ยวกับการแสดงต่าง ๆ นอกจากงานประเพณีประจำปีแล้ว ก็ยังได้จัดงานบอล งานราตรีไทลื้อในวาระต่างๆ และกิจกรรมเพื่อสร้างความสามัคคีระหว่างสมาชิก ได้แก่ การร่วมกันผลิตนมถั่วเหลืองผสมแคลเซียม

แนวทางการพัฒนาในอนาคต
ในเวลานี้ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจาก อ.บ.จ. มาสร้างศาลาเอนกประสงค์ เนื่องจากจะทำให้ศูนย์วัฒนธรรมมีความพร้อมในการทำนมถั่วเหลืองผสมแคลเซียม ซึ่งทุกวันนี้ก็ยังทำอยู่ แล้วได้จัดการปรับปรุงสนามหญ้า ทำซุ้มประตู ทำห้องน้ำเพิ่ม ซึ่งที่ศูนย์มีโครงกาจัดทำศูนย์ ท่องเที่ยวของหมู่บ้านไทลื้อ ซึ่งวางโครงการไว้ว่า จะมีที่พักของสายตรวจอยู่ในศูนย์วัฒนธรรมไทลื้อ มีการติดต่อธนาคารเพื่อเอาตู้ ATM มาลง แล้วประสานไปยังการท่องเที่ยวจังหวัดไว้แล้วว่าจะนำทัวร์มาแวะเยี่ยมชมก็ได้ แล้วตอนนี้แผนก็เสร็จไปแล้ว หากมาที่ศูนย์วัฒนธรรมไทลื้อแล้วก็จะไปท่องเที่ยวที่วัดพระธาตุดอยม่วงคำ แล้วไปชมงานแกะสลักที่บ้านหลุกได้ ตามแผนการที่วางไว้ศูนย์ท่องเที่ยวจะมีสินค้าให้นักท่องเที่ยวได้เลือกซื้อ ได้แก่ ถั่วลิสงกระเทาะเปลือก กระเทียม หัวหอม และเซรามิกต่าง ๆ ของตำบลกล้วยแพะ และส่งเสริมให้รุ่นต่อไปสืบสาน วัฒนธรรมต่อไป

สิ่งที่ต้องการความช่วยเหลือจากหน่วยงานภายนอก
ต้องการให้คนทั่วไปหันมาสนใจและศึกษาเกี่ยวกับวัฒนธรรมไทลื้อเพื่อร่วมกันอนุรักษ์ไว้โดยทุกหน่วยงานช่วยกระตุ้นให้เกิดความร่วมมือ

กิจกรรมการช่วยเหลือสังคม
สามารถเป็นวิทยากรเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมไทลื้อให้กับนักเรียน นักศึกษา หรือผู้ที่สนใจ

ประเพณีเก่าแก่ของชาวไทลือ
1. แห่ไม้ค้ำศรี – โดยจะกระทำในช่วงเทศกาลสงกรานต์เพราะเชื่อว่าจะทำให้หมู่บ้านอยู่ดีมีสุข
2. ฟ้อนนก – จะกระทำในช่วงที่มีงานที่สำคัญ ๆ เช่น งานผ้าป่าจากที่อื่น ก็จะมีการฟ้อนนกเพื่อเป็นการต้อนรับคณะผ้าป่า หรือแม้แต่งานล่องสะเปาชาวไทยลื้อก็จะมีการฟ้อนนกให้ดูด้วย ซึ่งตอนนี้จะหาดูได้ยาก ถ้าไม่มีงานสำคัญจริง ๆ ก็จะไม่เห็น โดยการฟ้อนนกจะใช้ผู้หญิงล้วน โดยจะประกอบไปด้วย แม่นก 1 ตัว ลูกนก 4 – 5 ตัว โดยจะต้องสวมชุดนกด้วย
3. รดน้ำดำหัว – จะกระทำกันในช่วงเทศกาลสงกรานต์ จะทำในวันที่ 17 – 18 เมษายน โดยจะทำการรดน้ำดำหัวขอขมาให้แก่ผู้เฒ่าผู้แก่ในหมู่บ้าน

โครงสร้างในปัจจุบัน
ส.จ. มงคลศิลป์ ศรีอิ่นแก้ว ประธาน
อาจารย์วัฒิตา ปาระมี เลขา
อาจารย์วราภรณ์ ศรีอิ่นแก้ว เลขา
ประธานชุมชนของแต่ละหมู่บ้านใน ต.กล้วยแพะ คณะกรรมการ

สถานที่ตั้ง
ที่อยู่ขององค์กร ศูนย์วัฒนธรรมไทลื้อ หมู่ 1 ถนน ลำปาง – แม่ทะ ต.กล้วยแพะ อ.เมือง จ. ลำปาง

ที่อยู่ผู้ให้สัมภาษณ์
ส.จ.มงคลศิลป์ ศรีอิ่นแก้ว 16/1 หมู่ 3 ต.กล้วยแพะ อ.เมือง จ.ลำปาง
0-5435-4597 มือถือ 0-1993-1848

คุณภาพอากาศ PM2.5

Submission received, thank you!

Close Window

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า